โรคเฮอร์แปงไจน่า

ลูกมีแผลเฉพาะในปากต้องระวัง

เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหาร พบได้บ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ทำให้เด็กมีอาการไข้สูง แผลเปื่อยในช่องปาก เจ็บคอ เป็นโรคระบาดที่พบได้บ่อยซึ่งผู้ปกครองควรเฝ้าระวัง
“ยาป้ายปากไม่เกาะแผล ใช้ไม่สะดวก ป้ายแล้วทานอาหารหรือกินนมไม่ได้”

สาเหตุโรคเฮอร์แปงไจน่า

โรคเฮอร์แปงไจน่า เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับที่เป็นสาเหตุของโรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth Disease) ชนิดที่สำคัญ คือ เอนเทอโรไวรัส71 และ ไวรัสค็อกซากีชนิดเอ มักมีการระบาดในช่วงฤดูฝน โดยเชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วย ผ่านทางระบบทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหาร

การแพร่ติดต่อ

โรคเฮอร์แปงไจนาเป็นโรคติดต่อได้จากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง และอุจจาระ ของคนที่มีเชื้อ เพราะบางครั้งอาจอาจสัมผัสแล้วนำมือเข้าปาก แล้วเผลอรับประทานเข้าไป สามารถทำให้ติดเชื้อได้
ทั้งนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 3– 14 วัน ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่วันแรกที่ติดเชื้อไปจนกว่าจะหายจากโรค คือ ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์นับจากติดเชื้อ

เด็กเล็กเป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้ปกครองต้องระวัง

 
กลุ่มเสี่ยงของโรคนี้จะเป็นมากในเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี และเจอในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กยังไม่มีภูมิต้านทานของเชื้อนี้ โดยเฉพาะเด็กที่ไปโรงเรียนอนุบาล มักเล่นของเล่นรวมกัน หยิบจับสิ่งของรวมกัน จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย โดยตัวเชื้อจะอยู่ได้นานในอากาศเย็นและชื้น จึงระบาดมากในฤดูฝน แต่ก็สามารถพบได้ทุกฤดู

อาการของโรค

ผู้ป่วยโรคเฮอร์แปงไจนา โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรง แต่อาจมีไข้เฉียบพลัน ไข้อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ปวดตามตัว อาจมีอาเจียน และอาการเด่นคือจะมีอาการเจ็บบริเวณเพดานปากและคอนำมาก่อน ต่อมาจะมีจุดแดงๆ บริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ และอาจมีตุ่มแดงที่ทอนซิล หรือบริเวณในลำคอด้วยก็ได้ อาจเป็นแผลเล็กๆ ตรงกลางตุ่มน้ำนั้น หรืออาจมีการอักเสบรอบๆ แผลได้ จำนวน 5 – 10 ตุ่ม อย่างไรก็ตาม ไข้จะลดลงภายใน 2 – 4 วัน แต่แผลอาจคงอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์

แต่ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเจอได้จากโรคนี้ เช่นก้านสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่ส่งผลต่อการเสียชีวิต แต่ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวพบไม่บ่อยนัก

การรักษา

เฮอร์แปงไจน่าเป็นโรคที่สามารถหายได้เอง เมื่อร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น โรคนี้ยังไม่มียารักษาจำเพาะ วิธีรักษาใช้การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด การรับประทานอาหารอ่อน ๆ การให้เกลือแร่เพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำ

เมื่อไรควรนำเด็กพบแพทย์

เฮอร์แปงไจน่าเป็นโรคที่สามารถหายได้เอง เมื่อร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น โรคนี้ยังไม่มียารักษาจำเพาะ วิธีรักษาใช้การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด การรับประทานอาหารอ่อน ๆ การให้เกลือแร่เพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำ

การดูแลเด็กที่เป็นโรคเฮอร์แปงไจน่า

หากเด็กมีไข้ก็ให้คุณพ่อคุณแม่เช็ดตัว หรือกินยาลดไข้เข้าไปเพื่อบรรเทา สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดอย่างหนึ่งเมื่อเด็กเป็นโรคนี้ คือ เขาจะไม่ยอมกินอะไรเพราะเจ็บแผลในปาก
ฉะนั้น ก่อนการรับประทานอาหาร ให้คุณแม่ใช้สเปรย์พ่นปากฉีดพ่นในปากของเด็กก่อนที่จะกินอาหาร 30 นาที หรือเน้นให้เด็กกินอาหารที่เป็นของเหลวและต้องมีความเย็น อาทิ นมแช่เย็น , น้ำเต้าหู้ที่ไม่ร้อน , น้ำหวาน , ไอศกรีม , เจลลี่ , ผลไม้ , เต้าฮวยนมสด , เกลือแร่ รวมถึงเน้นให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อลดอาการขาดน้ำ หากเด็กไม่สามารถกินอะไรได้เลยก็ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อให้น้ำเกลือโดยด่วน
มือเท้าปาก สเปรย์พ่นปากยูเรโกะ

การป้องกันโรค

โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้ล้างมือให้สะอาดด้วยนํ้าและสบู่ (ก่อนและหลังเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร ภายหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม หลังการดูแลเด็กป่วย) ตัดเล็บ ให้สั้น หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน (เช่น ขวดนม แก้วนํ้า หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ) และใช้ช้อนกลาง
สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้องด้วย
มือเท้าปาก สเปรย์พ่นปากยูเรโกะ

วิธีการควบคุมโรค

หากพบเด็กป่วย ต้องรีบแยกเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5-7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่นสระว่ายนํ้า ตลาด และห้างสรรพสินค้า ควรอยู่ในที่ที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี ใช้ผ้าปิดจมูกปากเวลาไอจาม และระมัดระวังการไอจามรดกัน ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสนํ้ามูก นํ้าลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top