โรคมือเท้าปาก
ภัยร้ายที่ผู้ปกครองควรรู้
เป็นโรคสุดฮิตที่คุณพ่อคุณแม่ รวมถึงคุณครูในโรงเรียนอนุบาลหรือประถมต้นรู้จักกันเป็นอย่างดี เราจะเคยได้ยินข่าวการระบาดของมือเท้าปากเสมอโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน
“ยาป้ายปากไม่เกาะแผล ใช้ไม่สะดวก ป้ายแล้วทานอาหารหรือกินนมไม่ได้”
สาเหตุโรคมือเท้าปาก
เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด โดยที่พบมากที่สุดคือ Enterovirus EV71/Coxsackie A/B และ Echovirus พบได้บ่อยในเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีในโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่เล่นของเด็กในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในที่อยู่ร่วมกันอย่างแออัดจะมีโอกาสที่เกิดการระบาดได้ โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูฝนซึ่งอากาศเย็นและชื้น
ลูกน้อยเจ็บแผลในปากกินไม่ได้ นอนไม่หลับร้องไห้งอแง
อาการของโรค
หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้สูง 3-5 วันแรก อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปาก กลืนนํ้าลายไม่ได้ และไม่ยอมทานอาหารเนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม จะพบตุ่มหรือผื่นนูนสีแดงเล็ก (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส บริเวณรอบๆ อักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกเป็นแผลหลุมตื้นๆ อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติ ภายใน 7-10 วัน
การแพร่ติดต่อ
ไวรัสแพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย สามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โรคมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถติดต่อกันได้โดยที่ยังไม่แสดงอาการ
จากข้อมูลสถิติพบว่าเดือนตุลาคมจะพบการระบาดของโรคมาก เพราะเป็นช่วงที่กำลังเปลี่ยนแปลงฤดู และค่อยๆลดจำนวนลง โดยพบการระบาดของโรคนี้น้อยที่สุดในช่วงที่เด็กปิดภาคเรียนคือเดือนเมษายนและพฤษภาคม แต่เมื่อเด็กเปิดเทอมในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม การระบาดจะกลับมาอีกครั้ง
การรักษา
การรักษาโรคมือเท้าปากส่วนมากเป็นรักษาแบบประคับประคอง เพราะอาการของโรคนั้นสามารถหายเองได้ เช่น ให้ยาลดไข้ (เด็กมีอาการไข้ 3-5 วัน ใช้ยาพาราเซตามอลลดไข้) หรือเช็ดตัว ในช่วงช่วงแรกเด็กไม่ค่อยรับประทานอาหารเนื่องจากเจ็บแผลในปากที่กระจายในช่องปาก อาจต้องให้สารน้ำ หรือให้น้ำเกลือ เพื่อให้รักษาสมดุลเกลือแร่ และการรักษาแผลให้คนไข้สบายขึ้น เช่น ใช้สเปรย์พ่นปากยูเรโกะเคลือบแผล เพื่อไม่ให้น้ำลายสัมผัสแผล ไม่เจ็บปวด และทำให้แผลหายได้ไวขึ้น
อาการรุนแรงของโรคมือเท้าปาก อาจมีอาการสมองอักเสบร่วมกับระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว
และทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ผู้ปกครองควรสังเกตหากเด็กที่มีอาการรุนแรงเช่นไข้สูง ซึม อ่อนแรง มือสั่น เดินเซ อาเจียนมาก หายใจหอบ และชัก หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาพบแพทย์โดยด่วน
การดูแลเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก
ต้องบอกเลยว่าโรคมือเท้าปากที่เกิดขึ้นนั้น การรักษาความสะอาดร่างกายของเด็กมีส่วนที่จะไม่ทำให้แผลเกิดการลุกลามได้ง่าย และให้ดูแลอย่างใกล้ชิดหากเด็กมีไข้ก็ให้ทานยาลดไข้พาราเซตามอล หรือเช็ดตัว สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดอย่างหนึ่งเมื่อเด็กเป็นโรคนี้ คือ เขาจะไม่ยอมกินอะไรเพราะเจ็บแผลในปาก
ฉะนั้นก่อนการรับประทานอาหาร ให้คุณแม่ใช้สเปรย์พ่นปากยูเรโกะพ่นเพื่อเคลือบแผลในปากของเด็กก่อนที่จะกินอาหาร หรือเน้นให้เด็กกินอาหารที่เป็นของเหลวและต้องมีความเย็น อาทิ นมแช่เย็น , น้ำเต้าหู้ที่ไม่ร้อน , น้ำหวาน , ไอศกรีม , เจลลี่ , ผลไม้ , เต้าฮวยนมสด , เกลือแร่ รวมถึงเน้นให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อลดอาการขาดน้ำ หากเด็กไม่สามารถกินอะไรได้เลยก็ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อให้น้ำเกลือโดยด่วน
การป้องกันโรค
ถึงแม้จะมีวัคซีนป้องกัน แต่หากป่วยเป็นโรคมือเท้าปากจะยังไม่มียารักษาไวรัสตัวนี้ ผู้ปกครองป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้ล้างมือให้สะอาดด้วยนํ้าและสบู่ (ก่อนและหลังเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร ภายหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม หลังการดูแลเด็กป่วย) ตัดเล็บ ให้สั้น หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน (เช่น ของเล่น ขวดนม แก้วนํ้า หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ) และใช้ช้อนกลางในการทานทุกครั้ง
กรณียังไม่ป่วย
ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ที่มีคนจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของโรค
สอนให้เด็กหมั่นล้างมือเมื่อไปตามสถานที่ต่างๆ หรือที่โรงเรียน
ไม่นำของเล่นหรือสิ่งของเข้าปาก
หมั่นล้างของเล่นและภาชนะของเด็กให้สะอาดและตากให้แห้ง
ผู้ปกครอง คุณครู หรือ ผู้ดูแลเด็ก ควรหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ระหว่างวัน