โรคมือ เท้า ปาก ในผู้ใหญ่: เรื่องที่หลายคนไม่รู้!
โรคมือ เท้า ปาก มักถูกมองว่าเป็นโรคที่พบในเด็กเล็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้วผู้ใหญ่ก็มีโอกาสติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้เช่นกัน แม้จะพบได้น้อยกว่า แต่กับผู้ใหญ่บางกลุ่มอาการอาจมีความรุนแรงได้ ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก ในผู้ใหญ่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถดูแลตัวเอง และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนรอบข้างได้
สาเหตุและการติดเชื้อของโรคมือ เท้า ปาก
โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โดยเฉพาะ
- ไวรัสค็อกซากี (Coxsackievirus)
- เอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71)
แม้ส่วนใหญ่จะพบในเด็กเล็ก แต่ผู้ใหญ่ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อก็มีโอกาสติดเชื้อได้ โดยเฉพาะ
- ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ในบ้านเดียวกับเด็กที่ป่วย
- ผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น ครูในโรงเรียนอนุบาล ผู้ดูแลเด็ก หรือพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก
เชื้อไวรัสเหล่านี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน ผ่านทาง
- การสัมผัสสารคัดหลั่ง: เช่น น้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง หรืออุจจาระของผู้ป่วย
- ติดจากอากาศ: จากการไอ หรือจามของผู้ป่วยในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดี
- การใช้สิ่งของร่วมกัน: ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดตัว หรือสัมผัสกับอุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อน เช่น ลูกบิดประตู รีโมทแอร์ ทีวี เป็นต้น
อาการของโรคมือ เท้า ปาก ในผู้ใหญ่
หลังจากได้รับเชื้อไวรัสแล้ว ประมาณ 3-6 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ โดยอาการของโรคมือ เท้า ปาก ในผู้ใหญ่อาจคล้ายกับในเด็ก แต่บางครั้งอาการอาจรุนแรงกว่า ใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า อาการทั่วไป ได้แก่:
- มีไข้สูง: ผู้ใหญ่ที่ติดเชื้ออาจมีไข้สูงในช่วง 1-2 วันแรก
- แผลในปาก: แผลตื้นๆ ในปากหรือบนลิ้น ทำให้ทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ลำบาก
- ผื่นหรือตุ่มน้ำใส: พบตุ่มน้ำใสที่มือ เท้า และอาจพบที่ขา แขน หรือรอบก้น
- อ่อนเพลียและปวดเมื่อย: ผู้ใหญ่อาจรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีอาการปวดหัวร่วมด้วย
- อาการอื่นๆ: อาจมีอาการปวดคอ ปวดท้อง หรือคลื่นไส้
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น: แม้ในผู้ใหญ่ โรคมือ เท้า ปาก ส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่ในบางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือภาวะน้ำท่วมปอด โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้น หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูงไม่ลด ซึม ชัก หายใจหอบเหนื่อย ควรรีบพบแพทย์ทันที
บทความนี้จะพาไปสำรวจ 2 มุมมอง ของโรคมือ เท้า ปาก ในผู้ใหญ่ พร้อมเผยวิธีดูแลตัวเอง และป้องกันการติดเชื้อ
- ครูอนุบาล ผู้ดูแลเด็ก: เสริมเกราะป้องกัน สู้ภัยโรคมือ เท้า ปาก
ครูอนุบาล และผู้ดูแลเด็ก เป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่ต้องเผชิญกับโรคมือ เท้า ปาก เนื่องจากต้องสัมผัสใกล้ชิดกับเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยที่พบโรคนี้บ่อย แม้คุณครูจะมีสุขภาพดี แต่การสัมผัสเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้ติดเชื้อได้ การดูแลสุขภาพ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
เคล็ดลับดูแลสุขภาพ สำหรับครู และผู้ดูแลเด็ก
- โภชนาการ: รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น ไข่ ไก่ ปลา นม เพื่อเสริมสร้าง และซ่อมแซมเซลล์ในร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- ออกกำลังกาย: ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที ต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วัน เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย
- พักผ่อน: นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง ต่อคืน เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู และซ่อมแซมตัวเอง
- วิตามิน และอาหารเสริม: เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวิตามิน และอาหารเสริม เช่น วิตามินซี วิตามินดี ซิงค์ ซีลีเนียม หรือ พรีไบโอติก ฟรุคโตโอลิโกแซคาไรด์ FOS
- สุขอนามัย: ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ
- ผู้สูงอายุ: ป้องกัน และดูแล เมื่ออยู่ในบ้านที่มีเด็กป่วย
ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคมือ เท้า ปาก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงตามวัย หากอยู่ในบ้านที่มีเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก จำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
คำแนะนำ สำหรับผู้สูงอายุ
- แยกกันอยู่: ควรแยกเด็กที่ป่วยออกจากผู้สูงอายุ เพื่อลดโอกาสในการสัมผัสเชื้อ ไม่ควรนอนร่วมห้อง หรือใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
- สุขอนามัย: ผู้สูงอายุควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณ ตา จมูก ปาก รวมถึงผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องล้างมือทุกครั้งก่อนไปเข้าไปดูแล
- สวมหน้ากากอนามัย: เมื่อต้องใกล้ชิด หรือดูแลเด็กที่ป่วย
- ทำความสะอาด: ทำความสะอาดบ้าน และของใช้เป็นประจำ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- เสริมภูมิคุ้มกัน: รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม
หากผู้สูงอายุมีอาการ เช่น ไข้ เจ็บคอ หรือมีตุ่มพอง ควรรีบพบแพทย์ทันที
ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่ใช้รักษาโรคมือ เท้า ปาก โดยเฉพาะ การรักษาจึงเน้นที่การบรรเทาอาการ เช่น
- รับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้
- จิบน้ำเย็น
- รับประทานอาหารอ่อนๆ
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
🛒 สั่งซื้อ ยูเรโกะ สเปรย์พ่นปาก และ Immunex FOS ได้ที่: 📱 Line: @genkihouses
📕 ดาวน์โหลด E-book คู่มือการดูแลลูกเป็นมือ เท้า ปาก ฟรีได้เลยที่ 👉 https://t.ly/j8ttu