โรคมือ เท้า ปาก: ทำความเข้าใจยาและการรักษาเพื่อการดูแลที่ถูกต้อง
โรคมือ เท้า ปาก หรือ Hand, foot, and mouth disease (HFMD) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) เช่น Coxsackievirus A16 และ Enterovirus 71 (EV71) ซึ่งเชื้อ EV71 มักทำให้เกิดอาการที่รุนแรงกว่า อาการที่พบบ่อยของโรคมือ เท้า ปาก คือ มีไข้ มีแผลในปาก และมีผื่นหรือตุ่มน้ำใสขึ้นที่มือ เท้า และก้น แม้โรคนี้ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่การดูแลรักษาที่ถูกต้องจะช่วยลดความรุนแรงของอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะขาดน้ำ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ยาและการรักษาโรคมือ เท้า ปาก
เนื่องจากโรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัส ปัจจุบันจึงยังไม่มียาต้านไวรัสที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ การรักษาจึงเน้นที่การรักษาตามอาการ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาและการรักษา ดังนี้
- ยาลดไข้: เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน เพื่อช่วยลดไข้และบรรเทาอาการปวดเมื่อย แนะนำให้เช็ดตัวบ่อยๆเพื่อช่วยลดความร้อนและทำให้ลูกสบายตัวมากขึ้น
- น้ำเกลือ: โดยทั่วไปแนะนำให้จิบน้ำบ่อยๆทีละน้อย แต่ถ้าในกรณีที่เด็กมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง รับประทานอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณาให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- ยาปฏิชีวนะ: โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะในกรณีที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเท่านั้น
การใช้ยาชาบรรเทาอาการเจ็บแผลในปาก: ข้อจำกัดที่ควรพิจารณา
สำหรับอาการเจ็บแผลในปาก การใช้ยาชาเฉพาะที่มักถูกนำมาใช้เพื่อลดความเจ็บชั่วคราว ยาชาสามารถช่วยให้ปากรู้สึกชาและลดอาการเจ็บได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่มีข้อเสียหลายประการ:
- อาการเจ็บแผลเมื่อทานอาหารหรือดื่มน้ำ: แม้ยาชาจะทำให้ปากรู้สึกชา แต่ไม่ได้ช่วยป้องกันการระคายเคืองแผล เมื่อแผลสัมผัสกับอาหารหรือเครื่องดื่มก็จะเจ็บเหมือนเดิม มีแต่ความรู้สึกว่าชา แต่ไม่ได้ทำให้หายเจ็บได้เลย
- รสชาติไม่อร่อย: ยาชามีรสชาติที่ไม่อร่อย เด็กส่วนใหญ่จะไม่ชอบและไม่ยอมใช้ ป้อนได้ยากมาก
- เปลี่ยนรสชาติของอาหารและเครื่องดื่ม: ยาชาบางส่งผลต่อการรับรส ทำให้รสชาติอาหารและเครื่องดื่มเปลี่ยนไป แม้แต่ของที่น้องชอบก็ไม่อร่อยแล้วเพราะการใช้ยาชา น้องจะทานอาหารได้น้อยลง
ยูเรโกะสเปรย์พ่นปาก: นวัตกรรมบรรเทาอาการเจ็บแผลในปาก
วันนี้เรามีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาและไม่มีส่วนประกอบของยาทุกชนิด แต่สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลในปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สเปรย์พ่นปากยูเรโกะ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยป้องกันการระคายเคืองแผลในปากโดยตรง
คุณสมบัติเด่นของสเปรย์พ่นปากยูเรโกะ
- เคลือบแผลในปาก: สเปรย์พ่นปากยูเรโกะมีโพลีเมอร์ที่ละลายในน้ำบริสุทธิ์ที่เมื่อพ่นจะสร้างฟิล์มบาง ๆ เคลือบแผลในปาก ทำให้แผลไม่สัมผัสกับอาหาร น้ำ หรือสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ ที่ทำให้น้องเจ็บปาก ทำให้เด็กสามารถทานอาหารได้ตามปกติ
- ออกฤทธิ์เร็ว เห็นผลใน 1 นาที: ผลิตภัณฑ์นี้จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลในปากได้ทันทีเมื่อใช้ ทำให้เด็กสามารถทานอาหารและดื่มน้ำได้สบายขึ้นภายในเวลาอันสั้น
- ไม่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ และยาทุกชนิด: สเปรย์พ่นปากยูเรโกะ ปลอดภัยใช้ได้กับเด็กทารกตั้งแต่ 3 เดือนเป็นต้นไป กินได้ เป็น food grade
- ไม่เปลี่ยนรสชาติของอาหารและเครื่องดื่ม: เมื่อใช้สเปรย์พ่นปากยูเรโกะเด็กจะไม่รู้สึกว่ารสชาติของอาหารและเครื่องดื่มเปลี่ยนไป กินได้อร่อยเหมือนเดิม
- รสหวานและกลิ่นพีช: น้องชอบให้ความร่วมมือในการพ่นได้ดี
การดูแลตัวเองที่บ้านเมื่อเป็นโรคมือ เท้า ปาก
นอกจากการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว การดูแลตัวเองที่บ้านอย่างถูกวิธีก็มีความสำคัญ เพื่อช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งมีคำแนะนำ ดังนี้
- รับประทานอาหารอ่อนๆ: เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม น้ำซุป และอาหารที่ย่อยง่าย ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารแข็ง อาหารทอด และอาหารที่เป็นกรด เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว เนื่องจากอาจทำให้ระคายเคืองแผลในปาก
- ดื่มน้ำมากๆ: เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ อาจดื่มน้ำผลไม้แช่เย็น นมเย็น หรือไอศกรีม เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลในปาก
- พักผ่อนให้เพียงพอ: การพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
- รักษาความสะอาด: ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะหลังการใช้ห้องน้ำ หลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และก่อนรับประทานอาหาร หมั่นทำความสะอาดของเล่น และสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เด็กสัมผัสบ่อยๆ เช่น ลูกบิดประตู รีโมท โทรศัพท์มือถือ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- แยกของใช้ส่วนตัว: ไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ผ้าเช็ดตัว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โดยเฉพาะถ้ามีพี่หรือน้อง ต้องระวังการติดต่อ เพราะโรคนี้สามารถติดต่อได้ทางอากาศ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น: เช่น การหอม การกิน เล่น หรือการใช้ภาชนะร่วมกัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
- หยุดเรียน: เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดเรียนจนกว่าจะหายดี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่เด็กคนอื่นๆ
ข้อควรระวัง
- หากเด็กมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม ชัก หายใจหอบเหนื่อย รับประทานอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ ควรพาไปพบแพทย์ทันที
- ไม่ควรแกะ เกา หรือบีบตุ่มน้ำใส เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้
การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
- ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ: โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ และหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย: เช่น ไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกัน
- ทำความสะอาดของเล่นและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เด็กสัมผัสบ่อยๆ: ด้วยสบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- พาเด็กไปรับวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71): สามารถช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมือ เท้า ปาก ที่มีอาการรุนแรงได้ วัคซีนนี้แนะนำสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
สั่งซื้อ Eureko Mouth Spray ได้ที่
- Line @genkihouses
Download EBook คู่มือการดูแลลูกเป็นมือเท้าปาก ฟรี ได้ที่ https://t.ly/j8ttu